"อุตรดิตถ์แดนฝัน สวรรค์บนดิน"

UPDATE ::

วิสัยทัศน์  “สาธารณูปโภคครบบริบูรณ์   เพิ่มพูนคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจชุมชนเข้มแข็ง วัฒนธรรมท้องถิ่นดีงาม  แหล่งท่องเที่ย    วตระการตา”   Facebook : อบต.น้ำหมัน อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์   เว็บไซต์ อบต. น้ำหมัน   www.nammunlocal.go.th

ประวัติ อบต.

1. ข้อมูลทั่วไปขององค์การบริหารส่วนตำบลน้ำหมัน


1.1 ประวัติขององค์กร

ตำบลน้ำหมัน  ประชาชนบ้านน้ำหมัน หมู่ที่ 3, 5, 9 เป็นชุมชนดั้งเดิม หมู่ที่ 2 บ้านวังหัวดอย หมู่ที่ 4

บ้านนาต้นโพธิ์  เป็นกลุ่มประชากรดั้งเดิมขยายออกเป็น หมู่ที่ 10 หมู่บ้านทรายงาม หมู่ที่ 12 บ้านค่าย ส่วนประชากรที่ทางราชการอพยพอันเนื่องจากการสร้างเขื่อน ได้แก่หมู่ที่ 1, 7 และ 11 ส่วนประชากร  หมู่ที่ 6 และหมู่ที่ 8 บ้านน้ำต๊ะ เป็นชุมชนที่อพยพมาตั้งใหม่  มีจำนวนหมู่บ้าน 12 หมู่บ้าน

กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 ให้ สภาตำบลน้ำหมัน อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็น องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำหมัน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ณ วันที่ 30 มกราคม พ.ศ.2539 โดยให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2539) และได้ปรับขนาด  เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลาง เมื่อวันอังคารที่  18  มีนาคม  2556

 

1.2 ด้านกายภาพ

                ที่ตั้งและอาณาเขตของตำบลน้ำหมัน

                ตำบลน้ำหมัน ตั้งอยู่ระหว่างเส้นละติจูดที่ 17-18 และเส้นลองติจูดที่ 100- 101 อยู่ในเขตอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ประกอบด้วย 12 หมู่บ้าน มีพื้นที่ ทั้งหมด 409.6 ตารางกิโลเมตร (256,000 ไร่) โดยพื้นที่ตำบลน้ำหมันส่วนใหญ่เป็นเนินเขาขนาดเล็กสลับที่ราบ เป็นที่ราบ เนินสูง และเนินเขาติดกับป่าสงวนแห่งชาติ ลำน้ำน่านฝั่งขวา พื้นที่ราบส่วน ใหญ่อยู่ทางทิศใต้ ได้แก่ หมู่ที่ 2, 3, 4, 5, 9 และเป็นเนินสูงเป็นเขา ได้แก่ หมู่ ที่ 1, 6, 7, 8, 10, 11, 12

อาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียง ดังนี้

- ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลหัวฝาย ตำบลป่าแดง อำเภอสูงเม่น อำเภอเมืองแพร่ อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ โดยเริ่มต้นจากสันเขา บริเวณพิกัด P V 323861 ไปทางทิศตะวันออกตามแนวสันเขา แล้วไปสิ้นสุดแนวเขตที่ห้วยรี บริเวณพิกัด P V 4167884 รวมระยะทางด้านทิศเหนือประมาณ 14.75 กิโลเมตร

- ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลจริม ตำบลหาดล้า อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยเริ่มต้นจากห้วยรี บริเวณพิกัด P V 416784 ไปทางทิศใต้ตามแนวสันเขา แล้วไปสิ้นสุดแนวเขตที่ห้วยอีบุตร บริเวณพิกัด P V 395602 รวมระยะทางด้านทิศตะวันออก ประมาณ 26.25 กิโลเมตร

- ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลร่วมจิต อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยเริ่มต้นจากห้วยอีบุตร บริเวณพิกัด P V 395602 ไปทางทิศตะวันตกตามแนวเขตที่ทำกินและแนวสันเขา แล้วไปสิ้นสุดแนวเขตที่เขาพญาผ่อ บริเวณพิกัด P V 204747 รวมระยะทางด้านทิศตะวันออก ประมาณ 32.45 กิโลเมตร

- ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลวังดิน อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยเริ่มต้นจากเขาพญาผ่อ บริเวณพิกัด P V 204747 ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือตามแนวสันเขา แล้วไปสิ้นสุดแนวเขต ที่บริเวณพิกัด P V 323861 รวมระยะทางด้านทิศตะวันตก ประมาณ 18.55 กิโลเมตร

                องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำหมัน ตั้งอยู่เลขที่ 90 หมู่ที่ 3 บ้านน้ำหมันกลาง ตำบลน้ำหมัน อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดอุตรดิตถ์ ห่างจากตัวเมืองอุตรดิตถ์ ประมาณ 32 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอท่าปลา ไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 13 กิโลเมตร การคมนาคมโดยทางรถยนต์

(ข้อมูลจาก ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ประกาศ ณ วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ.2540)

 

1.3 แบ่งเขตพื้นที่การปกครอง

                ตำบลน้ำหมัน ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 12 หมู่บ้าน คือ

หมู่ที่

ชื่อหมู่บ้าน

ชื่อ-สกุล    (ผู้นำหมู่บ้าน)

ตำแหน่ง

1

บ้านปางหมิ่น

นายทองย้อย     ปานานนท์

ผู้ใหญ่บ้าน

2

บ้านวังหัวดอย

นายปิยะพงษ์     ตาทา

ผู้ใหญ่บ้าน

3

บ้านน้ำหมันกลาง

นายอดุลย์         พรมวงษ์

ผู้ใหญ่บ้าน

4

บ้านนาต้นโพธิ์

นายพรอเนก      หิรัญงาม

ผู้ใหญ่บ้าน

5

บ้านน้ำหมันใต้

นายสุนทร         สายตรง

ผู้ใหญ่บ้าน

6

บ้านน้ำลี

นายธีรวัฒน์       ปานานนท์

ผู้ใหญ่บ้าน

7

บ้านผาลาด

นายสมคิด         อินป๊อก

ผู้ใหญ่บ้าน

8

บ้านน้ำต๊ะ

นายเนียม         ปานานนท์

ผู้ใหญ่บ้าน

9

บ้านน้ำหมันเหนือ

นายธนวัฒน์      กล้าจิตร

ผู้ใหญ่บ้าน

10

บ้านทรายงาม

นายสุทธนนท์    คำพัฒน์

ผู้ใหญ่บ้าน

11

บ้านปางหมิ่นเหนือ

นายสมคิด        ปานานนท์

กำนันตำบลน้ำหมัน

12

บ้านค่าย

นายธีรวัฒน์       ตาทา

ผู้ใหญ่บ้าน

 

 

1.4  จำนวนประชากรในตำบลน้ำหมัน

จำนวนประชากรในเขตตำบลน้ำหมันประจำปี 2561

หมู่ที่

หมู่บ้าน

ประชากร (คน)

ครัวเรือน

ชาย

หญิง

รวม

1

ปางหมิ่น

266

261

527

179

2

วังหัวดอย

403

406

809

306

3

น้ำหมันกลาง

225

218

443

134

4

นาต้นโพธิ์

334

342

676

195

5

น้ำหมันใต้

453

473

926

301

6

น้ำลี

344

334

678

249

7

ผาลาด

188

189

377

114

8

น้ำต๊ะ

266

260

526

205

9

น้ำหมันเหนือ

423

462

885

333

10

ทรายงาม

220

213

433

151

11

ปางหมิ่นเหนือ

137

131

268

92

12

บ้านค่าย

278

277

555

175


รวม

3537

3566

7103

2434

                                                                                                                                                 ข้อมูล ณ 2562


1.5 ทรัพยากรธรรมชาติ

                ลักษณะภูมิประเทศ

                พื้นที่ตำบลน้ำหมันส่วนใหญ่เป็นเนินเขาขนาดเล็กสลับที่ราบเนินสูงและมีแหล่งน้ำธรรมชาติไหลผ่านหมู่บ้าน  ในช่วงฤดูแล้งจะแห้งไม่มีน้ำ และมีเนินเขาติดกับป่าสงวนแห่งชาติลำน้ำอุตรดิตถ์ฝั่งขวา พื้นที่ราบส่วนใหญ่อยู่ทางทิศใต้ ได้แก่ หมู่ที่ 2, 3, 4, 5, 9 และเป็นเนินสูงเป็นเขาได้แก่หมู่ที่ 1, 6, 7, 8, 10, 11, 12 มีพื้นที่เกิดเหตุโคลนถล่ม เมื่อวันที่ 22-23 พฤษภาคม 2549 จำนวน 3 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 6 หมู่ที่ 8 หมู่ที่ 10 (มีผู้เสียชีวิตและสูญหาย  ทั้งหมด 58 ราย)

                ลักษณะภูมิอากาศ

                ลักษณะทางภูมิอากาศเป็นแบบมรสุม มี 3 ฤดู คือ

                -  ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึง เดือนพฤษภาคม อากาศร้อนจัดและแห้งแล้งราษฎรประสบปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค และน้ำเพื่อการเกษตร

                -  ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึง เดือนกันยายน ปกติฝนตกชุกตลอดฤดูกาล แต่บางปีมีฝนตกขาดช่วงเป็นเวลานาน

                -  ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม ถึง เดือนมกราคม ช่วงเดือนพฤศจิกายน และธันวาคม มักมีอากาศหนาวจัดและมีหมอกปกคลุมโดยทั่วไป

                ลักษณะของดิน

                ลักษณะของดินโดยทั่วไป พื้นที่ราบจะเป็นดินร่วน ที่เนินเขาเป็นดินลูกรัง พื้นที่ติดบริเวณลำห้วยแหล่งน้ำ  เป็นดินร่วนปนทราย

                ลักษณะของแหล่งน้ำ

                มีแหล่งน้ำที่ใช้สำหรับอุปโภคบริโภค แหล่งน้ำที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและที่องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำหมันได้ดำเนินการก่อสร้างขึ้นใหม่เพื่อเพียงพอกับการอุปโภคและบริโภคของประชาชน

                                - ลำห้วย, คลอง, บึง                          จำนวน 13 แห่ง/สาย

                                - สระน้ำ (รวมของราษฎร)                    จำนวน 65 แห่ง

                                - บ่อน้ำตื้นสาธารณะ                          จำนวน 23 แห่ง

                                - บ่อบาดาลสาธารณะ                         จำนวน 15 แห่ง

                                - ฝาย                                         จำนวน 39 แห่ง

                ลักษณะของไม้และป่าไม้

                ในตำบลน้ำหมัน มีป่าไม้เบญจพรรณอยู่ในประเภทไม้ผลัดใบ เช่น สัก ประดู่ มะค่า โม่ง ชิงชัง ตะแบก  เสลา และป่าไม้ที่มีการปลูกใหม่ เช่น ยางพารา มะม่วงหิมพานต์ ลางสาด ทุเรียน ฯลฯ

 

1.6 ระบบสาธารณูปโภค ไฟฟ้า น้ำประปา การสื่อสารโทรคมนาคม

                การเดินทางระหว่างตำบลน้ำหมัน ไปจังหวัดอุตรดิตถ์ มีรถโดยสารให้บริการ (รถสองแถว) ให้บริการเที่ยวแรกตั้งแต่เวลา 05.00  น. ออกจากตำบลน้ำหมัน เที่ยวสุดท้าย ประมาณ 17.00  น. และรถโดยสารที่จะเข้ามาในตำบลน้ำหมัน มีบริการตั้งแต่ 06.00 น. โดยจอดให้บริการบริเวณข้างสนามแบดมินตัน จังหวัดอุตรดิตถ์ ถนนสายหลักที่ใช้ในการสัญจรภายในตำบลและถนนที่ใช้เชื่อมระหว่างตำบล มีด้วยกัน ดังนี้

                ถนนระหว่างตำบล

ถนนสาย บ้านเด่นด่าน – น้ำหมัน                          (ถนนลาดยาง)

ถนนสาย บ้านหนองป่าไร่ – น้ำหมัน                       (ถนนลาดยาง)

ถนนสาย บ้านนาน้อย - นาต้นโพธิ์ – น้ำหมัน            (ถนนลาดยาง)

ถนนสาย บ้านน้ำคอม – บ้านค่าย                          (ถนนคอนกรีต)  

ถนนสาย บ้านน้ำสิงห์ - น้ำหมัน                            (ถนนลาดยาง)

                ถนนภายในตำบล               

                ถนนสาย บ้านน้ำหมัน – ปางหมิ่นเหนือ อยู่ในพื้นที่หมู่ 1, 2, 3, 5, 9, 11, 12 (ถนนคอนกรีต)

ถนนสาย บ้านปางหมิ่นเหนือ – บ้านน้ำต๊ะ  อยู่ในเขตพื้นที่หมู่ 6, 8, 10 (ถนนคอนกรีต) ถนนสายผาอานม้า บ้านปางหมิ่นเหนือ - บ้านน้ำต๊ะ อยู่ในพื้นที่หมู่ 11 - 8 (ถนนคอนกรีต)

ถนนสายต้นขนุน บ้านทรายงาม – บ้านน้ำต๊ะ อยู่ในพื้นที่หมู่ 10 - 8 (ถนนคอนกรีต) ถนนที่ต้องปรับปรุง คือ ถนนเข้าสู่พื้นที่การทำการเกษตร และถนนคอนกรีตภายในหมู่บ้าน

ระบบการไฟฟ้า

การไฟฟ้าที่เข้าถึง 12 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 100 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ แต่ไฟส่องสว่างทางหรือที่สาธารณะยังไม่สามารถดำเนินการครอบคลุ่มพื้นที่ได้ทั้งหมด 

ระบบประปา

ประปาในตำบลน้ำหมันจะมีทุกหมู่บ้าน เป็นประปาจากน้ำบาดาลใต้ดิน และประปาภูเขา ประปาใต้ดิน จะมีปัญหาในช่วงฤดูแล้งน้ำจะแห้ง การสูบจ่ายน้ำไม่เพียงพอ ปริมาณน้ำไม่พอใช้ตลอดปี ส่วนประปาภูเขาเป็นประปาที่ผลิตจากแหล่งน้ำลำธารธรรมชาติจากภูเขา มี 3 หมู่บ้าน คือ หมู่ 6 บ้านน้ำลี หมู่ 8 บ้านน้ำต๊ะ หมู่ 10 บ้านทรายงาม ประปาภูเขามีปัญหาในช่วงฤดูแล้งน้ำจะแห้งเช่นกัน เนื่องจากแหล่งน้ำจะแห้งไม่มีน้ำ

ระบบโทรศัพท์

ปัจจุบันการสื่อสารของตำบลน้ำหมัน สามารถรับสัญญาณโทรศัพท์มือถือได้ทั้งตำบล (บางเครือข่ายโทรศัพท์) และสามารถรับสัญญาณโทรศัพท์ได้ มีการติดตั้งเสาสัญญาณโทรศัพท์มือถือเพิ่มที่ หมู่ที่ 6, 10 ในปีงบประมาณ 2556 ทำให้สามารถรับสัญญาณโทรศัพท์ได้ทั้ง 12 หมู่บ้าน แต่ก็ยังมีบางจุดในพื้นที่ของหมู่ 6, 8, 10 ที่ไม่สามารถรับสัญญาณโทรศัพท์ได้เนื่องจากมีพื้นที่เป็นภูเขาสูง

ระบบไปรษณีย์ และการขนส่งอื่นๆ

                                ไปรษณีย์               ไม่มีที่ทำการไปรษณีย์ในเขตตำบลน้ำหมัน

                                การขนส่ง              ไม่มีที่ทำการขนส่งในเขตำบลน้ำหมัน


1.7 สาธารณสุข

ข้อมูลด้านสุขภาพ  เด็กแรกเกิดมีน้ำหนักไม่น้อยกว่า  2,500 กรัม จำนวน 44 คน เด็กแรกเกิดถึงอายุ 12 ปี  ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรค ตามตารางสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค  จำนวน 645 คน เด็กแรกเกิดได้กินนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนแรกติดต่อกัน จำนวน 34 คน ทุกคนในครัวเรือนกินอาหารถูกสุขลักษณะ ปลอดภัยจำนวน 1,806 ครัวเรือน คนในครัวเรือนมีการใช้ยาเพื่อบำบัดบรรเทาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้นอย่างเหมาะสม จำนวน 1,806  ครัวเรือน คนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อคัดกรองความเสี่ยง จำนวน 3,254 คน คนอายุ 6 ปีขึ้นไป ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วันๆ ละ 30 นาที จำนวน 4,985 คน (ข้อมูลจาก จปฐ. ปี 2559)

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนระดับตำบล จำนวน 3 แห่ง อยู่ในพื้นที่

                1. รพ.สต.บ้านปางหมิ่น มีบุคลากร ดังนี้

                                - พยาบาลวิชาชีพ                           จำนวน 1 คน

                                - นักวิชาการสาธารณสุข                   จำนวน 2 คน

                                - เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน          จำนวน 1 คน

                                - อาสาสมัครสาธารณสุข                   จำนวน 47 คน

               

                2. รพ.สต.บ้านน้ำรี มีบุคลากร ดังนี้

                                - พยาบาลวิชาชีพ                           จำนวน 1 คน

                                - นักวิชาการสาธารณสุข                   จำนวน 1 คน

                                - เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน          จำนวน 1 คน

                                - อาสาสมัครสาธารณสุข                   จำนวน 35 คน

                3. รพ.สต.บ้านน้ำหมัน มีบุคลากร ดังนี้

                                - พยาบาลวิชาชีพ                           จำนวน 1 คน

                                - นักวิชาการสาธารณสุข                   จำนวน 1 คน

                                - ทันตกรรม                                  จำนวน 1 คน

                                - เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน           จำนวน 1 คน

                                - อาสาสมัครสาธารณสุข                   จำนวน 47 คน

สถานพยาบาลอื่นๆ

- สถานพยาบาลเอกชน (คลินิก)                      จำนวน   2 แห่ง

- ร้านขายยาแผนปัจจุบัน                              จำนวน   2 แห่ง

                ปัญหาด้านสาธารณสุข

                1. ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ติดสุราเรื้อรัง โรคซึมเศร้า

                2. พฤติกรรมการบริโภคอาหาร เช่น หวาน มัน เค็ม มีความเสี่ยงต่อสารพิษตกค้าง

แนวทางแก้ไข

ทางองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำหมันจัดแผนงานจัดการด้านสุขภาพ ร่วมกับ รพ.สต. ทั้ง 3 แห่ง  โดยครอบคลุมในด้าน  แม่และเด็ก  ผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง  ผู้สูงอายุ  ผู้พิการ  ผู้ป่วยเรื้อรัง


1.8 ด้านเศรษฐกิจ

                การเกษตร

                ประชากรตำบลน้ำหมัน มีรายได้มาจากการเกษตรเป็นรายได้หลัก ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญของแต่ละหมู่บ้าน ดังนี้

                                หมู่ที่ 1 มี ข้าวโพด, กล้วย, ข้าว และมะม่วงหิมพานต์

                                หมู่ที่ 2 มี ข้าว, กล้วย, สวนยางพารา, มะม่วงหิมพานต์, ลางสาด, ทุเรียน, ถั่วเหลือง,  ข้าวโพด และถั่วลิสง 

                                 หมู่ที่ 3 มี ข้าว  

                                 หมู่ที่ 4 มี ข้าว, มะม่วงหิมพานต์ และมันสำปะหลัง 

                                หมู่ที่ 5 มี ข้าว, ถั่วลิสง, มะม่วงหิมพานต์ และมันสำปะหลัง 

                                หมู่ที่ 6 มี ข้าว, กล้วย, มะม่วงหิมพานต์, ทุเรียน, ลองกอง, ยางพารา และข้าวโพด 

                                 หมู่ที่ 7 มี ข้าว, มะม่วงหิมพานต์ และกล้วย 

                                 หมู่ที่ 8 มี ข้าว, ข้าวโพด, มะม่วงหิมพานต์ และยางพารา 

                                 หมู่ที่ 9 มี ข้าว, ข้าวโพด และมะม่วงหิมพานต์ 

                                 หมู่ที่ 10 มี กล้วย, ข้าว, ทุเรียน, ลางสาด, ข่า, ข้าวโพด และยางพารา  

                                 หมู่ที่ 11 มี กล้วย, ยางพารา, ข้าว, ข้าวโพด, มะม่วงหิมพานต์, และไม้กงกาง 

                               หมู่ที่ 12 มี ข้าวโพด, กล้วย, ถั่วลิสง, ถั่วเหลือง และยางพารา

                 อาชีพหลักของเกษตรกรตำบลน้ำหมัน โดยภาพรวม คือ ข้าว พืชผักผลไม้ต่างๆ เช่น กล้วย, ลำไย,  มะม่วงหิมมะพานต์, ยางพารา, สมุนไพร เช่น ข่า และผลิตภัณฑ์แปรรูป

                การประมง

                ในเขตตำบลน้ำหมัน ไม่มีการทำประมง แต่เป็นการจับสัตว์น้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น คลอง  ฝาย สระ ลำห้วย ฯลฯ

                การปศุสัตว์

                ตำบลน้ำหมัน มีการเลี้ยงโค กระบือ ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีมูลค่าผลผลิตสูง มีการเลี้ยง 2 ลักษณะ คือ เลี้ยงไว้ใช้งาน ส่วนอีกลักษณะหนึ่งคือ เลี้ยงเป็นอาชีพ มีการเลี้ยงโค กระบือ ทุกหมู่บ้าน โดยเลี้ยงกันมาก คือ หมู่ 2, 3, 4, 5 และ 9

                มีการเลี้ยงสุกร ในลักษณะการเลี้ยงในครัวเรือนทั่วไป การเลี้ยงรายใหญ่จะอยู่ที่ หมู่ 1, 2, 3, 4, 5 และ 9 ปริมาณการเลี้ยงสุกรจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงอยู่กับราคาตลาด และอาหารสัตว์ที่มีราคาสูง

                มีการเลี้ยงสุนัข ในทุกหมู่บ้าน เพื่อใช้เฝ้าบ้าน และล่าสัตว์

                มีการเลี้ยงไก่ ในลักษณะแบบครัวเรือน พันธุ์ที่นิยมเลี้ยง คือ ไก่พันธุ์พื้นเมือง ส่วนมากจะเลี้ยงไว้เป็นอาหาร ที่เหลือจะขาย มีการเลี้ยงไก่เนื้อมากกว่าไก่ไข่

                การบริการ ดังนี้

                1. รีสอร์ท                              จำนวน 1 แห่ง

                2. ร้านอาหารตามสั่ง                 จำนวน 13 แห่ง

                3. ร้านเกมส์                           จำนวน 4 แห่ง

                อุตสาหกรรม

                อุตสาหกรรมการเกษตร  (โรงสีข้าวขนาดเล็ก) จำนวน  31  แห่ง  ที่บริการสีข้าวให้กับเพื่อนบ้านในหมู่บ้านของตน  เพื่อนำแกลบ / รำขาย

                ด้านแรงงาน

                จากข้อมูล จปฐ.ปี 2559 คนอายุ 15 - 60 ปีเต็ม มีอาชีพและมีรายได้ จำนวน 111 คน คนอายุมากกว่า 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป มีอาชีพและมีรายได้ จำนวน 4 คน คนในครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ยไม่น้อยกว่า คนละ 30,000 บาท ต่อจำนวน 1,806 ครัวเรือน บางส่วนไปรับจ้างนอกพื้นที่เพราะในพื้นที่ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการจ้างแรงงาน พื้นที่ส่วนมากเป็นที่อยู่อาศัย และทำการเกษตร เลี้ยงสัตว์

 

1.9 แหล่งท่องเที่ยว

                ในตำบลน้ำหมัน มีสถานที่ท่องเที่ยว ดังนี้

                - น้ำตกธรรมชาติที่ยังไม่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย  มีอยู่ 8 แห่ง

                                1. น้ำตกวังชมภู                                               อยู่ในพื้นที่หมู่ 2  บ้านวังหัวดอย

                                2. น้ำตกนางพญา                                             อยู่ในพื้นที่หมู่ 6 บ้านน้ำลี

                                3. น้ำตกห้วยลีน้อยมี 2 แห่ง                                 อยู่ในพื้นที่หมู่ 6 บ้านน้ำลี

                                4. น้ำตกห้วยลีใหญ่ (ห้อยจอกหรือน้ำตกตาดยาว)        อยู่ในพื้นที่หมู่ 6 บ้านน้ำลี

                                5. น้ำตกห้วยขุนหมัน                                         อยู่ในพื้นที่หมู่ 7 บ้านผาลาด

                                6. น้ำตกน้ำต๊ะใต้                                              อยู่ในพื้นที่หมู่ 8 บ้านน้ำต๊ะ

                                7. น้ำตกห้าตาด                                               อยู่ในพื้นที่หมู่ 10 บ้านทรายงาม

                                8. น้ำตกสามตาด                                             อยู่ในพื้นที่หมู่ 10 บ้านทรายงาม

                - แหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ

                                1. แก่งทรายงาม                  อยู่ในพื้นที่หมู่ 10 บ้านทรายงาม

                                2. จุดชมวิวผาอานม้า            อยู่ในพื้นที่หมู่ 11 บ้านปางหมิ่นเหนือ

                                3. สวนป่าต้นน้ำ                  อยู่ในพื้นที่หมู่ 6 บ้านน้ำลี

                                4. ภูเขาพญาพ่อ                  อยู่ในพื้นที่หมู่ 6 บ้านน้ำลี

                                5. ดอยกิ๋วเกน                     อยู่ในพื้นที่หมู่ 8 บ้านน้ำต๊ะ

                                6. กิ๋วต้นแดง                      อยู่ในพื้นที่หมู่ 10 บ้านทรายงาม

 

1.10 จุดบริการประชาชน

- สถานีตำรวจ 1 แห่ง

- สถานีดับเพลิง 0 แห่ง

- ศูนย์ อปพร. (สมาชิก 165 คน) 1 แห่ง


1.11 ข้อมูลอื่นๆ 

                ด้านการศึกษา

                ในพื้นที่ตำบลน้ำหมัน  สมัยก่อนการศึกษาจะอาศัยพระสงฆ์สอนให้ จะได้เรียนเฉพาะผู้ชาย ส่วนเด็กผู้หญิงไม่มีโอกาสได้เรียน ปัจจุบันนี้ เด็กนักเรียนมีโอกาสได้รับการศึกษาขึ้นพื้นฐานทุกคน โดยเด็กอายุ 3 – 5 ปีบริบูรณ์ ได้รับการบริการเลี้ยงดูเตรียมความพร้อมก่อนวัยเรียน จำนวน 144 คน เด็กอายุ 6 – 14 ปี ได้รับการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี จำนวน 542 คน เด็กจบชั้น ม.3 ได้เรียนต่อชั้น ม.4 หรือเทียบเท่า จำนวน 17 คน คนอายุ 15 – 60 ปีบริบูรณ์ สามารถอ่าน เขียน ภาษาไทย และคิดเลขอย่างง่ายได้ จำนวน 40 คน (ข้อมูลจาก จปฐ. ปี 2559)

ในตำบลน้ำหมัน  มีสถานศึกษา ดังนี้

1. โรงเรียนประถมศึกษา มีทั้งหมด 6 แห่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุตรดิตถ์เขต  2 อยู่ในพื้นที่ 

                หมู่ 1 คือ โรงเรียนจริมอนุสรณ์ 1

                หมู่ 2 คือ โรงเรียนบ้านวังหัวดอย 

                หมู่ 4 คือ โรงเรียนบ้านนาต้นโพธิ์

                หมู่ 5 คือ โรงเรียนบ้านน้ำหมัน     

                หมู่ 6 คือ โรงเรียนบ้านน้ำลี

                หมู่ 8 คือ โรงเรียนบ้านน้ำต๊ะ

                2. โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา  2 แห่ง อยู่ในพื้นที่  หมู่ 5 และหมู่ 6 คือ

                - โรงเรียนบ้านน้ำหมัน 

                -โรงเรียนบ้านน้ำลี

3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำหมัน  จำนวน 5  แห่ง ดังนี้

                1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านน้ำหมัน ได้รับถ่ายโอนจากกรมพัฒนาชุมชน ตั้งอยู่ที่ หมู่ 5 ตำบลน้ำหมัน ให้บริการครอบคลุม จำนวน 4 หมู่บ้าน คือ หมู่ 3, 4, 5, 9

                2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปางหมิ่น โดยองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำหมันจัดตั้งเอง ตั้งอยู่ หมู่ 11 ตำบลน้ำหมัน ให้บริการครอบคลุม จำนวน 3 หมู่บ้าน คือ หมู่ 1, 11, 7

                3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวังหัวดอย โดยองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำหมันจัดตั้งเองตั้งอยู่ หมู่ 2 ตำบลน้ำหมัน ให้บริการครอบคลุม จำนวน 2 หมู่บ้าน  คือ หมู่ 2, 12

                4. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านน้ำลี โดยองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำหมันจัดตั้งเอง   ตั้งอยู่ หมู่ 6 ตำบลน้ำหมัน ให้บริการครอบคลุม จำนวน 2 หมู่บ้าน  คือ หมู่ 6, 10

                5. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านน้ำต๊ะ โดยองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำหมันจัดตั้งเอง   ตั้งอยู่ หมู่ 8 ตำบลน้ำหมัน ให้บริการครอบคลุม จำนวน 1 หมู่บ้าน คือ หมู่ 8 

                4. ศูนย์การเรียนชุมชนประจำตำบล               จำนวน   1 แห่ง

 

                สถาบันและองค์กรทางศาสนา

- วัด / สำนักสงฆ์ 6 แห่ง อยู่ในพื้นที่

หมู่ที่ 1 ได้แก่ วัดจริมปางหมิ่น

หมู่ที่ 2 ได้แก่ สำนักสงฆ์บ้านวังหัวดอย

หมู่ที่ 4 ได้แก่ สำนักสงฆ์บ้านนาต้นโพธิ์

หมู่ที่ 5 ได้แก่ วัดน้ำหมัน

หมู่ที่ 6 ได้แก่ สำนักสงฆ์บ้านน้ำลี

หมู่ที่ 8 ได้แก่ สำนักสงฆ์บ้านน้ำต๊ะ

2. ตราสัญลักษณ์ของ อบต.น้ำหมัน

 

   

 

3. วิสัยทัศน์ 

 

                “สาธารณูปโภคครบบริบูรณ์  เพิ่มพูนคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจชุมชนเข้มแข็ง  วัฒนธรรมท้องถิ่นดีงาม  แหล่งท่องเที่ยวตระการตา” 



สถิติการเข้าชมเริ่มวันที่ วันนี้ เมื่อวานนี้ เดือนนี้ เดือนก่อน ปีนี้ ปีก่อน ทั้งหมด ไอพี ของคุณ
1/1/2018 175 873 12767 1410 12677 6100 30061 3.239.6.58